โครงการทั้งหมดที่ รพ.สต.ได้จัดทำไปแล้ว

1.โครงการป้องกันและแก้ไขภาวการณ์ขาดสารไอโอดีนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
2.โครงการเยี่ยมบ้านและเวชปฏิบัติครอบครัว
3.โครงการปลอดพยาธิตำบลโคกกลาง
4.โครงการอบรมแกนนำสุขภาพครอบครัว
5.โครงการไอโอดีนดุจความรักจากแม่
6.โครงการค้นหาและคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
7.โครงการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ
8.โครงการรดย้ำดำหัวผู้สูงอายุ(อบต.จัดทำ)
9.โครงการเฝ้าระวังปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน
10.โครงการเฝ้าระวังทันตสุขภาพในศูนย์เด็กเล็ก(อบต.จัดทำ)

06 ตุลาคม, 2552

โรคไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญข้อแตกต่างระหว่างไข้หวัด เชื้อไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก ไข้หวัดมรณะ ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ โรคไข้หวัดข้ออักเสบ การดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดต่างกันอย่างไร
ไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อ Influenza virus เป็นการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ เช่น จมูก คอ หลอดลม และปอด เชื้ออาจจะลามเข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมาก จะพบมากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน ลดการหยุดงานหรือหยุดเรียน
สำหรับไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ไข้ไม่สูงมาก
ในปี คศ.2003 ได้มีการแนะนำเรื่องไข้หวัดใหญ่ดังนี้
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีนคือเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน(เนื่องจากเชื้อนี้มักจะระบาดในต่างประเทศ หากประเทศเราจะฉีดก็น่าจะเป็นช่วงเดียวกัน) โดยเน้นไปที่ประชาชนที่มีอายุ 50 ปี,เด็กอายุ 6-23 เดือน,คนที่อายุ 2-49 ปีที่มีโรคประจำตัวกลุ่มนี้ให้ฉีดในเดือนตุลาคม ส่วนกลุ่มอื่น เช่นเด็ก เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ผู้ดูแลคนป่วย กลุ่มนี้ให้ฉีดเดือนพฤศจิกายน
เด็กที่อายุ 6-23 เดือนควรจะฉีดทุกรายโดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย
ชนิดของวัคซีนที่จะฉีดให้ใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของเชื้อ A/Moscow/10/99 (H3N2)-like, A/New Caledonia/20/99 (H1N1)-like, และ B/Hong Kong/330/2001
ให้ลดปริมาณสาร thimerosal ซึ่งเป็นสารปรอท
เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่
Family Orthomyxoviridae
Genus: Influenza
ตัวเชื้อมีขนาด 80-120 nm
ลักษณะเป็น filament
Types: A, B, and C
การจำแนกชนิดของเชื้ออาศัย antigen ซึ่งอยู่ที่เปลือก(virus envelope) และแกนกลาง ( nucleoprotein )
Influenza A virus ทำให้เกิดโรคในคน สัตว์ปีก หมู ม้า สัตว์ทะเล แต่สัตว์ป่าจะเป็นพาหะของโรค
Influenza B virus เกิดโรคเฉพาะในคน
Influenza C virus ทำให้เกิดโรคในคนและม้า แต่เป็นอย่างไม่หนัก
การระบาดของไข้หวัดนกส่วนใหญ่เกิดเชื้อชนิด Type A
ที่เปลือกของเชื้อยังมี antigen อีกสองชนิดคือ Hemagglutinin(H )และ neuraminidase(N)
Type A จะมี H antigen อยู่ 15 ชนิดคือ H1-H15,ส่วน N antigen มีอยู่ 9 ชนิดคือ N1-N9 เชื้อชนิด H5,H7 จะเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรง
Influenza B virus จะเกิดโรคเฉพาะในคน เชื้อนี้จะทำให้เกิดการระบาดเป็นครั้งๆ แต่ไม่ทำให้เกิดการระบาดไปทั่วโลกเหมือน type A
Influenza C virus ไม่มีการแบ่ง antigen ทำให้เกิดโรคอย่างเบาในคน ไม่มีการระบาด
Type: Influenza A
ไวรัสชนิดนี้จะเป็นสาเหตุของการระบาดในคน
การระบาดของไข้หวัดนกทั่วโลกเกิดจากเชื้อตัวนี้ จะมี H antigen อยู่ 15 ชนิดคือ H1-H15 ส่วน N antigen มีอยู่ 9 ชนิดคือ N1-N9
เมื่อเร็วๆนี้เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ H5, H7, and H9
influenza Aจะพบในนกโดยที่นกจะไม่เป็นโรค
influenza A ชนิด H5 and H7 จะทำให้เกิดการระบาดในสัตว์เลี้ยง
นอกจากนั้น influenza A ยังทำให้เกิดโรคในม้า หมู ปลาวาฬ แมวน้ำ แมว เสือ
การเรียกชื่อไวรัส
การเรียกชื่อไวรัสไข้หวัดใหญ่อาศัยหลักเกณฑ์ดังนี้้
Type ให้ใช้ A,B,C กรณีที่เป็น Type A จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ H,N antigen และแต่ละชนิดยังแยกเป็นย่อย
แหล่งกำเนิดโรค
ลำดับพันธุ์ที่แยกเชื้อได้
ปี ค.ศ.ที่แยกได้
สำหรับ influenza A ให้บอกชนิดย่อย ของ H และN แอนติเจน
ตัวอย่าง Influenza virus A/Hong kong/1/68/[H3N2]
ไข้หวัดใหญ่คนและไข้หวัดใหญ่นกต่างกันอย่างไร
คนจะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ทั้ง Influenza A,B,C สำหรับType A เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ H1N1, H1N2, และ H3N2
สำหรับไข้หวัดนกจะเป็นเฉพาะ Type A สายพันธุ์ที่มักจะทำให้เกิดโรคในนกได้แก่ H5 และ H7 แต่ความทนทานต่อเชื้อไข้หวัดของนกแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน นกน้ำ เป็ดป่า นกป่าจะไม่เกิดโรค สัตว์เหล่านี้จะเป็นพาหะและจะนำเชื้อไปสู่สัตว์เลี้ยงทำให้สัตว์เลี้ยงเกิดโรค และเชื้อนั้นอาจจะติดมายังคน
การระบาดของเชื้อโรค
เชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดได้แก่ Influenza A virus ซึ่งมีวิธีการระบาดได้สองวิธีคือ
highly pathogenic avian influenza (HPAI) คือการระบาดชนิดรุนแรงซึ่งทำให้เกิดอัตราการตายสูงเกิดจากเชื้อ H5,H7
low-pathogenic avian influenza (LPAI) เป็นการระบาดอย่างไม่รุนแรง แต่อาจจะกลายพันธุ์เป็นเชื้อที่ระบาดรุนแรงก็ได้
การระบาดเชื่อว่าเกิดจากนกน้ำ หรือนกที่อพยพจากแหล่งอื่นที่เป็นภาหะของโรคนำเชื้อโรคมาที่ฟาร์ม
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรมของไวรัส
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A จะมีการกลายพันธุ์อยู่เสมอ และทำให้เกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่เป็นระยะๆ การเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกมีสองวิธีได้แก่
antigenic drift เป็นการเปลี่ยนแปลงบางส่วนของไวรัสทำให้เกิดไวรัสพันธุ์ใหม่ที่ร่างกายไม่เคยเจอจึงไม่มีภูมิต่อเชื้อโรคนี้ ตัวอย่างการเกิดการกลายพันธุ์ทำให้ในแต่ละปีต้องคิดวัคซีนเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่
antigenic shift คือการที่เชื้อไวรัสไขหวัดมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรม เมื่อเชื้อนั้นไปติดเชื้อสัตว์ ทำมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเชื้อไวรัสอย่างทันที ทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่คนไม่รู้จักและไม่เคยมีภูมิต่อเชื้อโรค เมื่อเชื้อระบาดเข้าสู่คน คนไม่มีภูมิต่อเชื้อโรคจึงเกิดการระบาดไปทั่วโลก ดังเคยเกิดมาเมื่อปี 1918ที่ประเทศสเปน การเกิด antigenic shift มักจะเกิดกับสัตว์เลี้ยงใกล้ตัว เช่น แมว หมู
เชื้อไข้หวัดนก
เชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ติดในนกเรียกว่า avian influenza viruses ซึ่งเป็นเชื้อชนิด infuenza type A เท่านั้น สายพันธ์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในนกได้แก่สายพันธ์ H5, H7, และ H9 ลักษณะของการติดเชื้อไข้หวัดนก
Influenza A H5
มี9สายพันธ์ได้แก่H5N1, H5N2, H5N3, … H5N9
เป็นได้ทั้งชนิดที่มีความรุนแรงมากและน้อย( highly pathogenic or low pathogenic )
มีหลักฐานว่าเกิดการติดเชื้อในคน และทำให้เสียชีวิต
Influenza A H7
มี9สายพันธ์ได้แก่ H7N1, H7N2, H7N3, … H7N9
เป็นได้ทั้งชนิดที่มีความรุนแรงมากและน้อย( highly pathogenic or low pathogenic )
ไม่ค่อยพบว่าติดต่อสู่คน นอกจากจะพบในคนงานในฟามร์ ทำให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบ
Influenza A H9
มี9สายพันธ์ได้แก่ H7N1, H7N2, H7N3, … H7N9
เป็นเฉพาะที่มีความรุนแรงน้อย
มีรายงานว่าคนติดเชื้อนี้ 3 คน
การติดต่อ
เชื้อนี้ติดต่อได้ง่ายโดยทางเดินหายใจ วิธีการติดต่อได้แก่
ติดต่อโดยการไอหรือจาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตาและปาก
สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ
สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
อ่านรายละเอียด
อาการของโรค
อาการของไข้หวัดใหญ่จะเหมือนกับไข้หวัด แต่ไข้หวัดใหญ่จะเร็วกว่า ไข้สูงกว่า อาการทำสำคัญได้แก่
ระยะฟักตัวประมาณ1-4 วันเฉลี่ย 2 วัน
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
เบื่ออาหาร คลื่นไส้
ปวดศรีษะอย่างรุนแรง
ปวดแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบกระบอกตา
ไข้สูง 39-40 องศาในเด็ก ผู้ใหญ่ไข้ประมาณ 38 องศา
เจ็บคอคอแดง มีน้ำมูกไหล
ไอแห้งๆ ตาแดง
ในเด็กอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
อาการไข้ คลื่นไส้อาเจียนจะหายใน 2 วัน แต่อาการน้ำมูกไหลคัดจมูกอาจจะอยู่ได้ 1 สัปดาห์
สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว
อาจจะพบว่ามีการอักเสบของเยื่อหุ่มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ
อาจจะมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศรีษะ ซึมลง หมดสติ
ระบบหายใจอาจจะมีอาการของโรคปอดบวม จะหอบหายใจเหนื่อยจนถึงหายใจวาย
โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่จะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีบางรายซึ่งอาจจะมีอาการปวดข้อและไอได้ถึง 2 สัปดาห์
ระยะติดต่อ
ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น
ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วันก่อนเกิดอาการ
ห้าวันหลังจากมีอาการ
ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วัน
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่จะอาศัยระบาดวิทยาโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด และอาการของผู้ป่วย การวินิจฉัยที่แน่นอนต้องทำการตรวจดังนี้
นำเอาเสมหะจากจมูกหรือคอไปเพาะเชื้อไวรัส
เจาะเลือดผู้ป่วยหาภูมิ 2 ครั้งโดยครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 14 วัน
การตรวจหา Antigen
การตรวจโดยวิธี PCR,Imunofluorescent
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
ผู้ป่วยอาจจะมีอาการกำเริบของโรคที่เป็นอยู่ เช่นหัวใจวาย หรือหายใจวาย
มีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ เช่น ปอดบวม ฝีในปอด
เชื้ออาจจะทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
หูอักเสบ
การรักษา
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะหายเอง หากมีอาการไม่มากอาจจะดูแลเองที่บ้าน วิธีการดูแลมีดังนี้
ให้นอนพักไม่ควรจะออกกำลังกาย
ให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือดื่มน้ำผลไม้ ไม่ควรดื่มน้ำเปล่ามากเกินไปเพราะอาจจะขาดเกลือแร่ ดื่นจนปัสสาวะใส
รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุมน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลงให้รับประทาน paracetamol ไม่แนะนำให้ aspirinในคนที่อายุน้อยกว่า 20 ปีเพราะอาจจะทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Reye syndrome การรับประทาน paracetamol ก็ต้องระวังจะทำให้ตับอักเสบ
ถ้าไอมากก็รับประทานยาแก้ไอ แต่ในเด็กเล็กไม่ควรซื้อยารับประทาน
สำหรับผู้ที่เจ็บคออาจจะใช้น้ำ 1 แก้วผสมเกลือ 1 ช้อนกรวกคอ
อย่าสั่งน้ำมูกแรงๆเพราะอาจจะทำให้เชื้อลุกลาม
ในช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์สาธรณะ ลูกบิดประตู
เวลาไอหรือจามต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก
ช่วงที่มีการระบาดให้หลีกเลี่ยงสถามที่สาธารณะ
ผู้ป่วยควรจะพบแพทย์เมื่อไร
แม้ว่าไข้หวัดใหญ่จะหายได้เอง แต่ผู้ป่วยบางรายมีโรคแทรกซ้อน ดังนั้นหากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์
ผู้ป่วยเด็กควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
ไข้สูงและเป็นมานาน
ให้ยาลดไข้แล้วไข้ยังเกิน 38.5องศา
หายใจหอบหรือหายใจลำบาก
มีอาการมากกว่า 7 วัน
ผิวสีม่วง
เด็กดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารไม่พอ
เด็กซึม หรือไม่เล่น
เด็กไข้ลด แต่อาการไม่ดีขึ้น
สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หวัดใหญ่หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้พบแพทย์
ไข้สูงและเป็นมานาน
หายใจลำบาก หรือหายใจหอบ
เจ็บหรือแน่นหน้าอก
หน้ามืดเป็นลม
สับสน
อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได
กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มที่เสี่งต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ควรจะพบแพทย์เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่
ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด โรคเบาหวาน
คนท้อง
คนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
เด็กเล็กหรือทารก
ผู้ป่วยโรคเอดส์
ผู้ที่พักในสถาพเลี้ยงคนชรา
เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
เจ้าหน้าที่ที่ดูลแลผู้สูงอายุหรือดูแลคนป่วย
หากท่านสงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ท่านต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไวรัสภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ
ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการเหล่านี้ควรจะรักษาในโรงพยาบาล
มีอาการขาดน้ำไม่สามารถดื่มน้ำได้อย่างเพียงพอ
เสมหะมีเลือดปน
หายใจลำบาก หายใจหอบ
ริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีม่วงเขียว
ไข้สูงมากเพ้อ
มีอาการไข้และไอหลังจากไข้หวัดหายแล้ว
การรักษาในโรงพยาบาล
แพทย์จะให้น้ำเกลือสำหรับผู้ที่ดื่มน้ำไม่พอ
ผู้ป่วยเหล่านี้ควรจะได้รับยา Amantadine หรือ rimantidine เพื่อให้หายเร็วและลดความรุนแรงของโรค ควรจะให้ใน 48 ชมหลังจากมีไข้ และให้ต่อ 5-7 วัน ยานี่ไม่ได้ลดโรคแทรกซ้อน
ให้ยาลดน้ำมูกหากมีน้ำมูก
ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนไม่ควรให้ยาปฎิชีวนะ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการจะหายใน 2-3 วันไข้จะหายใน 7 วันอาการอ่อนเพลียอาจจะอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์
การป้องกัน
ล้างมือบ่อยๆ
อย่าเอามือเข้าปากหรือขยี้ตา
อย่าใช้ของส่วนตัว เช่นผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
ให้พักที่บ้านเมื่อเวลาป่วย
เวลาไอจามใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
หลีกเลี่ยงที่ชุมชนเมื่อมีการระบาด
การฉีดวัคซีน
การป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน ซึ่งทำจากเชื้อที่ตายแล้วโดยฉีดทีแขนปีละครั้ง หลังฉีด 2 สัปดาห์ภูมิจึงขึ้นสูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ แต่การฉีดจะต้องเลือกผู้ป่วยดังต่อไปนี้
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัวเช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคตับ
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยโรคเอดส์
หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่
ผู้ที่อาศัยในสถานเลี้ยงคนชรา
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง
นักเรียนที่อยู่รวมกัน
ผู้ที่จะไปเที่ยวยังที่ระบาดของไข้หวัดใหญ่
ผู้ที่ต้องการลดการติดเชื้อ
การใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่เพื่อรักษา
Amantadine and Ramantadine เป็นยาที่ใช้ในการป้องกันและรักษาไวรัสไๆข้หวัดใหญ่ชนิด A ไม่ครอบคลุมชนิด B
Zanamivir Oseltamivir เป็นยาที่รักษาได้ทั้งไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิด A,B
การให้ยาภายใน 2 วันหลังเกิดอาการจะลดระยะเวลาเป็นโรค
จะใช้ยารักษาไข้หวัดกับคนกลุ่มใด
เราจะใช้ยากับคนกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และอยู่ในช่วงที่มีการระบาดของโรคกลุ่มที่ควรจะได้รับยารักษาได้แก่
คนที่อายุมากกว่า 65 ปี
เด็กอายุ 6-23 เดือน
คนท้อง
คนที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ
การให้ยาเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่
ยาที่่ได้รับการรับรองว่าใช้ป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้แก่ Amantadine Ramantadine Oseltamivir วิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน แต่ก็มีบางกรณีที่จำเป็นต้องให้ยาเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่
ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับวัคซีนไม่ทัน ทำให้ต้องได้รับยาในช่วงที่มีการระบาดของโรค
ผู้ที่ดูดแลกลุ่มเสี่ยงและไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ควรจะได้รับยาในช่วงที่มีการระบาดของโรค
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่นโรคเอดส์
กลุ่มคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนและไม่อยากเป็นโรค
อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/influenza.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

ภาพกิจกรรมซ้อมแผนไข้หวัดใหญ่

ภาพกิจกรรมซ้อมแผนไข้หวัดใหญ่